
ปัญหาด้านจิตเวชและสุขภาพจิตเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศ การให้การดูรักษาผู้ป่วยและครอบครัว ต้องการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความรู้ความสามารถทางจิตเวชศาสตร์ มีเจตคติที่ดีทั้งต่อผู้ป่วย และมีจริยธรรม เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วย และการให้คำแนะนำในการป้องกันเป็นไปอย่างเหมาะสมมีคุณภาพ
การฝึกอบรมแพทย์เพื่อให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์ จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และความชำนาญทางจิตเวช ทั้งด้านการดูแลรักษา ป้องกัน ส่งเสริม และฟื้นฟูสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วย รวมทั้งครอบครัวของผู้ป่วย เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนร่วมวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และประกอบวิชาชีพด้วยความสุจริตตามมาตรฐานและตามจรรยาบรรณจิตแพทย์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้จัดหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้าน เพื่อผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์ขึ้น
วิสัยทัศน์/ปรัชญา ค่านิยมของสถาบันฝึกอบรมฯ
วิสัยทัศน์ : ผลิตจิตแพทย์ที่มีคุณภาพ เข้าใจบริบทของสังคมไทย
*ปรัชญา : ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง
ประโยชน์ของเพื่อมนุษย์เป็นที่หนึ่ง
ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง
ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์
*ค่านิยม
S = Safety = จิตสำนักด้านความเสี่ยงและความปลอดภัย
T = Team = ทำงานเป็นทีม
E = Evidence base = การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
M = Moral = ยึดหลักคุณธรรม/ ธรรมาภิบาล
C = Care = มุ่งเน้นผู้รับบริการ
Q = Quality = มุ่งเน้นคุณภาพ
I = Innovation = นวัตกรรม/ ความคิดสร้างสรรค์ Creativity
* หมายเหตุ : ตามปรัชญา และค่านิยมของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พันธกิจหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาจิตเวชศาสตร์
เพื่อสร้างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ที่สามารถปฏิบัติงานตามหลักความสามารถในการทำงานตามหลักตามหลักวิชาชีพนิยม (professionalism) สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบริบทของสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์ มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัย โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานการดูแลแบบองค์รวม สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคมและประกอบวิชาชีพด้วยความสุจริตตามมาตรฐาน และตามจรรยาบรรณจิตแพทย์ มีเจตนารมณ์และเตรียมพร้อมที่จะเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต มีความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ มีความเป็นผู้นำทางวิชาการ มีความสามารถในการบริหารจัดการ สามารถปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพหรือเป็นกลุ่มได้ มีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงานทั้งในวิชาชีพของตนเองและวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้งผู้ป่วยและญาติ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ ระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย การใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม รวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน