ความเป็นมาของสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์เป็นหนึ่งใน 11 ภาควิชาที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาพร้อมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อปี พ.ศ.2515 สำนักงานภาควิชาฯ ในช่วงต้นนั้นตั้งอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์
ต่อมาได้ย้ายมาที่อาคารบริหารคณะแพทยศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2523 และย้ายอีกครั้งมาตั้งอยู่ที่ชั้น 2 โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 จนถึงปัจจุบัน

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์เป็นหนึ่งใน 11 ภาควิชาที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาพร้อมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อปี พ.ศ.2515 สำนักงานภาควิชาฯ ในช่วงต้นนั้นตั้งอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์
ต่อมาได้ย้ายมาที่อาคารบริหารคณะแพทยศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2523 และย้ายอีกครั้งมาตั้งอยู่ที่ชั้น 2 โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 จนถึงปัจจุบัน
ศาสตราจารย์นายแพทย์กวี สุวรรณกิจ เป็นผู้มีบทบาทในการก่อตั้งภาควิชาฯ โดยในช่วงต้นนั้นท่านได้พยายามชักชวน และชี้แนะแพทย์ฝึกหัดจากโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ให้มารับทุนของ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อมาฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางจิตเวชศาสตร์ และได้เชิญ นายแพทย์บุญนำ วงศ์เชาวน์วัฒน์ จาก University of Pittsburgh ให้มาร่วมงานเมื่อปี พ.ศ.2523 รวมทั้งท่านได้ร่วมมือกับคุณอัจฉรา สุขารมณ์ ในการวางโครงสร้างของภาควิชาฯ จัดอัตรากำลังบุคลากร วางหลักสูตรวิชาพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์และวิชาจิตเวชศาสตร์
แนวทางการจัดการเรียนการสอนในยุคต้นๆ เป็นแนวของ mental health, social and dynamic psychiatry และได้เริ่มการสอนวิชาพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิก ต่อมาในปี พ.ศ.2521 ได้ขยายการเรียนการสอนวิชาจิตเวชศาสตร์ ภาคปฏิบัติในชั้นคลินิกสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ทั้งๆ ที่อาคารโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ แต่ภาควิชาฯ ได้รับความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกทั้งในด้านสถานที่และแพทย์ผู้สอนจาก โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลสงขลา โรงพยาบาลประสาทสงขลาและโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของการเรียนการสอน ภาควิชาฯ จึงได้ส่งนักศึกษาแพทย์ไปฝึกปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตโรงเรียน และด้านพฤติกรรมผิดปกติของเด็ก ณ ศาลคดีเด็กและเยาวชน จังหวัดสงขลา ต่อมาแนวทางจัดการเรียนการสอนในภาควิชาจึงค่อยๆ ปรับเปลี่ยนมาสู่ clinical และ biological psychiatry โดยยังคงให้ความสำคัญกับ psychosocial factors ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องด้านการให้บริการตรวจรักษา เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 2521 ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ จนกระทั่ง เดือนมีนาคม พ.ศ.2525 จึงเริ่มให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยจิตเวชทุกวันศุกร์ ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และจัดให้เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติการเรียนการสอนวิชาจิตเวชศาสตร์ สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4
ในวันที่ 9 เมษายน 2527 จึงได้เริ่มเปิดหอผู้ป่วยจิตเวช เพื่อให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล รวมทั้งใช้เป็นสถานที่ฝึกภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 และ 6
ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ภาควิชาก็ได้ขยายบริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกจากสัปดาห์ละ 1 วัน เป็น 2,3,4 จนถึง 5 วันต่อสัปดาห์ ในปัจจุบัน
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ เริ่มผลิตแพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้าน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 โดยในปีแรกมีแพทย์ใช้ทุน 1 คน และแพทย์ประจำบ้าน 2 คน จนมาถึงปัจจุบัน แพทยสภาได้จัดสรรตำแหน่งแพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้าน ให้แก่ภาค
วิชาฯ ทุกปีๆ ละ 2 – 3 อัตรา ตามสัดส่วนจำนวนอาจารย์แพทย์ปัจจุบันในปีการศึกษา 2560 มีอาจารย์แพทย์ 12 ท่าน ดูแลผู้ป่วยจิตเวชผู้ใหญ่ 9 ท่าน จิตเวชเด็ก 3 ท่าน มีแพทย์ใช้ทุน 4 คน แพทย์ประจำบ้าน 2 คน